เรียนรู้ข้อมูลก่อนการทำประกันอัคคีภัย
เรียนรู้ข้อมูลก่อนการทำประกันอัคคีภัย
เพราะการเกิดอัคคีภัย คือเหตุการณ์ที่ไม่มีใครที่อยากให้เกิด แต่อัคคีภัยอาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งอัคคีภัยส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุ อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ และความประมาท ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาต่อความสูญเสีย และเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ทำให้มีการทำประกันอัคคีภัย เพื่อรับรองและคุ้มครองความปลอดภัยในทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้น
สาเหตุที่ต้องทำประกันอัคคีภัย
ส่วนใหญ่สาเหตุของการเกิดอัคคีภัยมักจะถูกพบว่า ความประมาทเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ซึ่งมักจะเกิด เหตุกับอาคารบ้านเรือน ร้านค้า ที่อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูงทั้งนั้น ซึ่งการทำประกันอัคคีภัย จะทำให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองความสูญเสียรวมถึงความเสียหายที่เกิดจากเพลิงไหม้ ซึ่งการทำประกันอัคคีภัย ถือเป็นอีกหนึ่งหนทางในการเพิ่มความอุ่นใจ และยังทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
กรมธรรม์ประกันอัคคีสำหรับที่อยู่อาศัย
กรมการประกันภัย ฉบับใหม่ที่จะให้ความคุ้มครองกับลูกค้าเฉพาะกับที่อยู่อาศัย หรือที่หลายคนเรียกกันว่า กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งกรมธรรม์ฉบับนี้จะทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าบ้านหรือ เจ้าของที่อยู่อาศัยได้รับผลประโยชน์ จากการทำประกันอัคคีภัยที่มีความเหมาะสม และเป็นธรรมมากขึ้น โดยจะมีความคุ้มครองเพิ่มเติม จากกรมธรรม์อัคคีภัยปกติอีกด้วย
ผู้มีสิทธิทำประกันอัคคีภัย
ผู้ที่สามารถทำประกันอัคคีภัย ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิ์ หรือมีผลประโยชน์ และมีส่วนได้ส่วนเสียในความเป็นจริง ในทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัย ซึ่งสิ่งปลูกสร้าง สำหรับกรมธรรม์อัคคีภัย หรือสำหรับที่อยู่อาศัย ก็คือบ้าน ทาวน์เฮาส์ สำหรับอยู่อาศัย รวมถึงโรงรถ กำแพง ประตู รั้ว และห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต หรือคอนโดฯ เพราะการประกันอัคคีภัยคือ การให้ความคุ้มครองในทรัพย์สินต่างๆของผู้เอาประกันฯ ไม่ว่าจะเป็น อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ที่อาจเกิดความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้เป็นหลัก
ข้อจำกัดความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
ข้อจำกัดของความคุ้มครองที่อยู่ภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย อย่างการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ที่เกิดจากการระเบิดหรือไม่ก็ตาม และต้องเป็นการเสียหายที่เกิดขึ้นจากฟ้าผ่าโดยตรงเท่านั้น รวมถึงการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรืออุบัติเหตุไฟไหม้ที่เกิดจากแก๊สหุงต้มที่ไม่ใช่เพื่อการค้าหรืออุตสาหกรรม และยังมีความเสียหายที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่อาจทำให้บ้านพังในขณะดับเพลิง , ความเสียหายที่เกิดจากน้ำที่ใช้ในการดับเพลิง ฯลฯ
ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเอาประกันอัคคีภัยได้ ก็คือรากฐานของสิ่งปลูกสร้าง อย่างเช่นที่ดิน เพราะจะไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด รวมถึงเสาเข็มที่ตอกลึกลงในดินด้วย
สนใจข้อมูลประกันอัคคีภัยได้ที่นี่