การประกันภัยงานก่อสร้างให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันเป็น 2 ส่วน
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุอื่นใดที่ไม่อาจคาดเดาล่วงหน้า ซึ่งไม่ได้ถูกระบุไว้ในข้อยกเว้นในกรมธรรม์ เช่น ภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่า น้ำท่วม ลมภายุ แผ่นดินไหว ดินพังทลาย อุทกภัย ฯลฯ ความเสียหายอันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุเนื่องจาก การใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้คุณภาพ หรือ การขาดฝีมือแรงงานที่ดี การขาดความชำนาญ อุบัติเหตุอื่นๆ เช่นไฟไหม้ ระเบิด โจรกรรม ประมาทเลินเล่อ
ความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก สำหรับความเสียหายทางทรัพย์สินหรือการบาดเจ้บทางร่างกาย หรือเสียชีวิต ซึ่งผู้รับเหมาต้องรับผิดตามกฏหมายอันเนื่องมาจากการทำงานรับเหมา
การประกันภัยสำหรับวิศวกรรม
การประกันภัยเบ็ดเตล็ดคุ้มครองทรัพย์สินด้านงานประกันภัยวิศวกรรม (Engineering Insurance)
- การประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญา ( Contract Work Policy [CWI])
- การประกันภัยหม้อไอน้ำระเบิด ( Boiler Policy)
- การประกันภัยเครื่องจักร ( Machinery Policy)
- การประกันภัยเครื่องมือในการก่อสร้าง ( Contractors’ Plant & Machinery [CPM])
- การประกันภัยเครื่องจักรอิเลคทรอนิคส์ ( Electronic Equipment Insurance)
ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 แขนง คือ
1. การประกันภัยเครื่องจักรชำรุดเสียหาย (Machinery Breakdown Insurance)
เป็น การให้ความคุ้มครองเพื่อชดใช้ความชำรุดเสียหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่เครื่องจักรกลทุกประเภท การประกันภัยเครื่องจักรนี้เป็นการประกันภัยต่างหากที่ไม่รวมความสูญเสียจาก อัคคีภัยให้ความคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการใช้เครื่อง และจากอุบัติเหตุอื่นๆซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
- การออกแบบผิดพลาด (การคำนวณ แบบแปลน แบบวาด ความบกพร่องในการผลิต วัสดุ)
- การดำเนินเครื่องผิด ขาดความชำนาญ ประมาท
- การถูกกลั่นแกล้งด้วยเจตนาร้าย หรือถูกก่อวินาศกรรม
- ไฟฟ้าลัดวงจร และสาเหตุทางไฟฟ้าอย่างอื่น
- การระเบิดทางฟิสิกส์ ฯลฯ
2. การประกันภัยทุกชนิดในการติดตั้งเครื่องจักร (Erection All Risks Insurance)
การประกันภัยประเภทนี้ เป็นการคุ้มครองอย่างกว้างขวางต่อภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ณ สถานที่ติดตั้งสำหรับเครื่องจักรกลทุกประเภท และทุกขนาด นับจากเครื่องจักรเล็กๆธรรมดาไปจนถึงเครื่องกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ที่มี ค่าสูงนับหมื่นล้านบาท
การคุ้มครองพอจะกล่าวย่อๆ ดังนี้
- บรรดาเครื่องจักรกล สายไฟ รวมทั้งโครงสร้างที่เป็นเหล็ก
- เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการติดตั้ง
- เครื่องกำเนิดพลังงาน และเครื่องผลิต
- งานวิศวกรรมด้านโยธา (ที่ไม่ใหญ่เกินไป)
- บรรดาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในสถานที่ติดตั้งแล้ว
ความรับผิดตามกฎหมายของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อสาธารณชน คือ
- ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
- ความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย
ภัยที่คุ้มครอง
- อัคคีภัย การระเบิด
- ภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า พายุทุกชนิด แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หินทลาย
- โจรกรรม
- ความเสียหายสืบเนื่องจากการชำรุดของไฟฟ้า หรือเครื่องจักรกล
- ขาดฝีมือหรือขาดความชำนาญ ความผิดพลาดตามวิสัยปุถุชน หรือถูกก่อวินาศกรรม ถูกกลั่นแกล้ง
- ความเสียหายในระหว่างเคลื่อนย้าย เก็บรอการติดตั้งหรือระหว่างการติดตั้ง
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
บริษัทฯจะชดเชยผู้เอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินทั้งหมดที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าเสียหาย เนื่องจาก
- ความบาดเจ็บทางร่างกายหรือเจ็บไข้ อันเกิดแก่บุคคลภายนอกโดยอุบัติเหตุ
- ความสูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกโดยอุบัติเหตุ เกิดขึ้นโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาที่ประกันตามกรมธรรม์นี้ และเกิดขึ้นในบริเวณติดต่อใกล้เคียงกับสถานที่ก่อสร้างระหว่างระยะเวลาเอา ประกันภัย
ระยะเวลาคุ้มครอง
การ คุ้มครองจะเริ่มทันทีที่ทรัพย์สินที่จะติดตั้งได้ขนส่งถึงสถานที่ติดตั้ง แล้ว จะคุ้มครองตลอดไปจนกว่าการติดตั้งจะแล้วเสร็จ และลองเครื่องเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งกล่าวโดยย่อคือให้ความคุ้มครอง
- ระหว่างการเก็บรอหรือพักรอการติดตั้ง ณ สถานที่
- ระหว่างการติดตั้ง
- ระหว่างการลองเครื่อง ภายหลังการติดตั้งเสร็จแล้ว
- การคุ้มครองยังอาจจะขยายถึงการบำรุงรักษาอีกระยะหนึ่ง หลังจากลองเครื่องเรียบร้อยแล้วก็ได้
3. การประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractors’ All Risks Insurance)
การ ประกันภัยประเภทนี้ได้เริ่มจากเจตนาที่จะให้การคุ้มครองอย่างกว้างขวางและ เพียงพอแก่งานก่อสร้าง รวมทั้งเครื่องจักรกล อุปกรณ์ ฯลฯ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง และยังขยายงานคุ้มครองถึงความรับผิดตามกฎหมาย ต่อสาธารณชนของผู้รับเหมาก่อสร้างด้วยการประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อ สร้างนี้ ให้การคุ้มครองพอสรุปได้ย่อๆดังต่อไปนี้
ทรัพย์สินและชีวิตร่างกาย
งาน ที่จะก่อสร้างรวมทั้งงานก่อสร้างชั่วคราวเพื่อใช้เกี่ยวกับงานก่อสร้างถาวร นั้น วัสดุเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ความรับผิดตามกฎหมายของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อสาธารณชน คือ
- ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
- ความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายภัยที่คุ้มครอง
- อัคคีภัย การระเบิด
- ภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า พายุทุกชนิด แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หินทลาย
- โจรกรรม
- ขาดฝีมือหรือขาดความชำนาญ ความผิดพลาดตามวิสัยปุถุชน หรือถูกก่อวินาศกรรม ถูกกลั่นแกล้ง
- ความเสียหายในระหว่างเคลื่อนย้าย เก็บรอการติดตั้งหรือระหว่างการติดตั้ง
- การออกแบบและคำนวณผิดพลาด (ในกรณีต้องการให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ)