ประกันอัคคีภัยได้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่
สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน) หมายถึง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด สำหรับอยู่อาศัย โรงรถและอาคารย่อย เช่น เรือนคนใช้ เรือนครัว กำแพง รั้ว ประตู รวมทั้งส่วนปรับปรุงต่อเติม ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม
ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัยของผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลซึ่งตามปกติพักอาศัยอยู่กับผู้เอาประกันภัย
ในการทำประกันอัคคีภัยอาคารอยู่อาศัยนั้นผู้เอาประกันจะได้รับความความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ไฟไหม้
- ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า)
- ระเบิด
- ภัยยานพาหนะ หรือช้าง ม้า วัว ควาย ยกเว้นความเสียหายนั้นเกิดจากยานพาหนะ หรือ ช้าง ม้า วัว ควาย ของผู้เอาประกันภัย สมาชิกในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดที่กระทำการในลักษณะที่จ้างหรือถูกใช้วานโดยผู้เอาประกันภัย
- ภัยอากาศยาน หรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน เว้นแต่ความเสียหายอันเกิดจากอากาศยานที่ผู้เอาประกันภัยได้อนุญาตให้ลงในพื้นที่ซึ่งตนมีสิทธิให้ลงได้ คำว่า อากาศยาน ดังกล่าว ให้หมายความรวมถึง จรวด ซึ่งขับเคลื่อนด้วยตัวเองและยานอวกาศ
- ภัยเนื่องจากน้ำ อันเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจากการปล่อย การรั่วไหล หรือการล้นออกมาของน้ำ หรือไอน้ำจากท่อน้ำถังน้ำ ระบบทำความร้อน เครื่องสูบน้ำ ท่อดับเพลิงประจำบ้าน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ น้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปภายในสิ่งปลูกสร้างจากการชำรุดของหลังคาบ้าน หน้าต่าง ประตูวงกบ ประตู หน้าต่าง ช่องลม ช่องรับแสงสว่าง ท่อน้ำหรือรางน้ำ
นอกจากความคุ้มครองพื้นฐานแล้ว ผู้ซื้อกรมธรรม์ยังอาจซื้อความคุ้มครองอื่นๆ เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว ฯลฯ เพิ่มเติม
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัย
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัย
การทำประกันอัคคีภัยถือได้ว่าเป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหาย ที่เกิดจากไฟไหม้ หรือภัยเพิ่มอื่นๆ ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย และเพื่อให้เกิดความคุ้มครองต่อเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งมีการจัดทำประกันอัคคีภัย และยังสามารถได้รับประโยชน์ในการทำประกันภัยที่เหมาะกับสภาพความเสี่ยง จึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายรวมถึงเงื่อนไขและ ความคุ้มครองตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ ของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยอีกด้วย
การทำประกันอัคคีภัย จะได้รับค่าเสียหายเมื่อเกิดไฟไหม้
การทำประกันอัคคีภัย ที่จะได้รับค่าเสียหายนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัททราบเมื่อเกิดความเสียหายโดยด่วน และต้องส่งมอบหนังสือแจ้งรายละเอียดทรัพย์สินที่สูญเสียหรือเสียหาย ที่มีมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินนั้น ๆ โดยละเอียด และยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทำให้ความสำคัญของการประกันภัยถูกทำลายหรือเสียหาย นอกจากที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ ลูกค้าที่ทำประกันอัคคีภัยจะต้องแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้าด้วยเพื่อประโยชน์ในความคุ้มครองที่จะโอนตามไปด้วย
ขยายความคุ้มครองของการทำประกันอัคคีภัย
ผู้เอาประกันอัคคีภัยสามารถขยายความคุ้มครอง ไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงภัยต่าง ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในความคุ้มครองพื้นฐานได้อย่างภัยธรรมชาติและภัยอื่น ๆ ซึ่งผู้ทำประกันอัคคีภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม ส่วนทรัพย์สินที่มีการเอาประกันภัยจากประเภทอื่นไว้แล้ว ผู้เอาประกันภัยจะสามารถเรียกร้องความเสียหาย จากการทำประกันอัคคีภัยได้ในจำนวนเงินที่เกินกว่าจะเรียกร้องได้ จากกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ทำไว้อยู่ก่อนหน้า
การขอทำประกันอัคคีภัย
ผู้ที่จะทำประกันอัคคีภัย จะต้องเล็งเห็นแล้วว่า สถานประกอบการ ร้านค้า หรือที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์สินที่สามารถใช้งาน อย่างอาคาร โรงแรม สำนักงาน และห้างสรรพสินค้า ฯลฯซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อเจ้าของทรัพย์สินนั้น ซึ่งภัยที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน และสร้างความเสียหายในมูลค่าที่สูงนั้นส่วนใหญ่จะมาจากการเกิดเพลิงไหม้นั่นเอง
เงื่อนไขและรายละเอียดการของประกัน
เหตุผลที่ต้องทำการประกันอัคคีภัย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากไฟไหม้ รวมถึงภัยเพิ่มอื่นๆ ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ซึ่งการประกันภัยจะสามารถคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยอื่นๆได้ อย่าง น้ำท่วม, ลมพายุ, ฯลฯ โดยการทำประกันอัคคีภัย สามารถใช้ได้กับทรัพย์สินที่มีการจัดทำประกันภัย เป็นความคุ้มครองความเสียหายจากไฟไหม้ โดยตรง และลูกค้ายังจะได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยอีกด้วย
หากทรัพย์สินที่ทำประกันอัคคีภัยไว้ได้รับความเสียหาย เนื่องจาก ไฟไหม้ หรือความเสียหาย จากภัยเพิ่มพิเศษที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ฟ้าผ่า ฯลฯ ในระหว่างระยะเวลาที่ได้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุในตารางกรมธรรม์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง
สนใจข้อมูลประกันอัคคีภัยได้ที่นี่
เงื่อนไขของการรับประกันภัยจากประกันอัคคีภัย
เงื่อนไขของการรับประกันภัยจากประกันอัคคีภัย
ประกันอัคคีภัย มีรูปแบบถ้อยคำและข้อกำหนดเงื่อนไขของความคุ้มครองต่าง ๆ ที่ใช้คล้ายๆกันในแต่ละบริษัทประกันภัย
ซึ่งทรัพย์สินเอาประกันภัยจากการทำประกันอัคคีภัย ได้แก่ สิ่งปลูกสร้าง ตัวอาคาร เครื่องใช้สำนักงาน ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ วัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ และสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตรวมถึงที่ผลิตสำเร็จแล้ว เรียกได้ว่าการทำประกันอัคคีภัย สามารถใช้กับทรัพย์สินตั้งแต่บ้าน ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบกิจการทุกชนิด
การทำประกันอัคคีภัย ไม่คุ้มครองความเสียหายจากสงคราม
หากมีความเสียหายซึ่งเกิดจากสงครามหรือการรุกราน และการกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่คล้ายสงคราม การแข็งข้อ การจลาจล การกบฏ การก่อความไม่สงบวุ่นวาย หรือการนัดหยุดงาน การปฏิวัติ การกระทำของผู้ก่อการร้าย การรัฐประหาร และการประกาศกฎอัยการศึก ฯลฯ ซึ่งการการทำประกันอัคคีภัย จะไม่คุ้มครองสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้
การทำประกันอัคคีภัย ไม่คุ้มครอง ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรง
การทำประกันอัคคีภัย จะไม่ทำการคุ้มครอง ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรง อย่างการแผ่รังสี หรือมีการแพร่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงหรือพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และยังรวมถึงการระเบิดของกัมมันตภาพรังสี หรือสิ่งอันตรายอื่นใดที่อาจเกิดการระเบิดในกระบวนการนิวเคลียร์ได้
การทำประกันอัคคีภัย จะไม่คุ้มครองความเสียหายจากการเผาทรัพย์สิน
ซึ่งการประกันอัคคีภัย ที่ถือเป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง ที่สามารถให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะให้คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า รวมถึงการระเบิดของแก๊สหุงต้มที่ใช้ประโยชน์ตามบ้านที่มีผู้อยู่อาศัย หรือแก๊สสำหรับทำแสงสว่าง นอกจากนี้การทำประกันอัคคีภัย ยังสามารถคุ้มครองทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความร้อน หรือควัน ที่เป็นผลมาจากเพลิงไหม้ รวมถึงความเสียหายเนื่องจากน้ำที่ใช้ดับเพลิง และยังรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ในการดับเพลิงของเจ้าหน้าที่
ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันจากการทำประกันอัคคีภัยได้
เมื่อพูดถึงประกันอัคคีภัย ส่วนใหญ่คนมักจะนึกถึงการประกันภัยสำหรับสิ่งก่อสร้างอย่างบ้าน หรือทาวเฮาส์ ซึ่งที่จริงแล้วทรัพย์สินที่ลูกค้าสามารถทำประกันอัคคีภัยได้นั้นแบ่งออกได้คือ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่รวมผืนดิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ที่ไว้สำหรับอยู่อาศัย โรงรถและอาคารย่อย และส่วนปรับปรุงต่อเติมอย่างห้องชุดสำหรับอยู่อาศัย และยังรวมถึงทรัพย์สินภายในของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องดนตรี ฯลฯ รมถึงทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัยของผู้เอาประกันภัยจากการทำประกันอัคคีภัย
นอกจากนี้ผู้เอาประกันภัยจากประกันอัคคีภัยยังสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มตามความจำเป็นได้อีกด้วย
สนใจข้อมูลประกันอัคคีภัยได้ที่นี่
เรียนรู้ข้อมูลก่อนการทำประกันอัคคีภัย
เรียนรู้ข้อมูลก่อนการทำประกันอัคคีภัย
เพราะการเกิดอัคคีภัย คือเหตุการณ์ที่ไม่มีใครที่อยากให้เกิด แต่อัคคีภัยอาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งอัคคีภัยส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุ อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ และความประมาท ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาต่อความสูญเสีย และเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ทำให้มีการทำประกันอัคคีภัย เพื่อรับรองและคุ้มครองความปลอดภัยในทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้น
สาเหตุที่ต้องทำประกันอัคคีภัย
ส่วนใหญ่สาเหตุของการเกิดอัคคีภัยมักจะถูกพบว่า ความประมาทเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ซึ่งมักจะเกิด เหตุกับอาคารบ้านเรือน ร้านค้า ที่อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูงทั้งนั้น ซึ่งการทำประกันอัคคีภัย จะทำให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองความสูญเสียรวมถึงความเสียหายที่เกิดจากเพลิงไหม้ ซึ่งการทำประกันอัคคีภัย ถือเป็นอีกหนึ่งหนทางในการเพิ่มความอุ่นใจ และยังทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
กรมธรรม์ประกันอัคคีสำหรับที่อยู่อาศัย
กรมการประกันภัย ฉบับใหม่ที่จะให้ความคุ้มครองกับลูกค้าเฉพาะกับที่อยู่อาศัย หรือที่หลายคนเรียกกันว่า กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งกรมธรรม์ฉบับนี้จะทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าบ้านหรือ เจ้าของที่อยู่อาศัยได้รับผลประโยชน์ จากการทำประกันอัคคีภัยที่มีความเหมาะสม และเป็นธรรมมากขึ้น โดยจะมีความคุ้มครองเพิ่มเติม จากกรมธรรม์อัคคีภัยปกติอีกด้วย
ผู้มีสิทธิทำประกันอัคคีภัย
ผู้ที่สามารถทำประกันอัคคีภัย ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิ์ หรือมีผลประโยชน์ และมีส่วนได้ส่วนเสียในความเป็นจริง ในทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัย ซึ่งสิ่งปลูกสร้าง สำหรับกรมธรรม์อัคคีภัย หรือสำหรับที่อยู่อาศัย ก็คือบ้าน ทาวน์เฮาส์ สำหรับอยู่อาศัย รวมถึงโรงรถ กำแพง ประตู รั้ว และห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต หรือคอนโดฯ เพราะการประกันอัคคีภัยคือ การให้ความคุ้มครองในทรัพย์สินต่างๆของผู้เอาประกันฯ ไม่ว่าจะเป็น อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ที่อาจเกิดความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้เป็นหลัก
ข้อจำกัดความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
ข้อจำกัดของความคุ้มครองที่อยู่ภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย อย่างการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ที่เกิดจากการระเบิดหรือไม่ก็ตาม และต้องเป็นการเสียหายที่เกิดขึ้นจากฟ้าผ่าโดยตรงเท่านั้น รวมถึงการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรืออุบัติเหตุไฟไหม้ที่เกิดจากแก๊สหุงต้มที่ไม่ใช่เพื่อการค้าหรืออุตสาหกรรม และยังมีความเสียหายที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่อาจทำให้บ้านพังในขณะดับเพลิง , ความเสียหายที่เกิดจากน้ำที่ใช้ในการดับเพลิง ฯลฯ
ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเอาประกันอัคคีภัยได้ ก็คือรากฐานของสิ่งปลูกสร้าง อย่างเช่นที่ดิน เพราะจะไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด รวมถึงเสาเข็มที่ตอกลึกลงในดินด้วย
สนใจข้อมูลประกันอัคคีภัยได้ที่นี่