ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต / ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สิน กับ ฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น
สามารถดูตารางด้านล่าง
ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้จะรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต / ค่ารักษาพยาบาล และทรัพย์สิน กับ ฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น
สามารถดูตารางด้านล่าง
ลักษณะของการเคลมประกัน
ลักษณะของการเคลมประกัน
การเคลมประกันเป็นสิ่งที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ควรจะทราบข้อมูลเบื้องต้นไว้ เพื่อที่จะได้ส่งผลประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อตัวผู้ทำประกันเอง ทั้งข้อมูลของกรณีต่างๆที่สามารถเคลมประกันได้หรือขั้นตอนของการเคลมประกัน และอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเคลมประกันจะสามารถทำได้เมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุหรือความผิดปกติกับตัวของรถยนต์ ทั้งภายในและภายนอกของตัวรถ ซึ่งบริษัทประกันภัยรถยนต์จะแบ่งการเคลมประกันออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ
การเคลมประกันแบบสด
การเคลมประกันแบบสด คือการเคลมประกัน ณ จุดที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น เมื่อเกิดเหตุรถชนกันและมีคู่กรณี หรือมีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุนั้น ผู้ที่ทำประกันภัยรถยนต์ไว้จะต้องโทรแจ้งไปยังบริษัทที่ทำประกันภัยรถยนต์ซึ่งการแจ้งบริษัทประกันนี้จะมีวิธีการแจ้งที่แตกต่างกันตามแต่ละบริษัท และการแจ้งเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งตำแหน่งจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน มีการบอกสถานที่ที่สามารถเห็นได้ชัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยรถยนต์สามารถเข้ามาดูแลเราได้เร็วที่สุด เมื่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันมาดูที่เกิดเหตุแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินสภาพของอุบัติเหตุ เก็บหลักฐาน เช่น การถ่ายภาพบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุของรถที่ทำประกันภัยไว้ และร่องรอยจุดที่เกิดอุบัติเหตุบนรถของคู่กรณี และผู้ที่ทำประกันสามารถทำการแจ้งเคลมประกันรถยนต์กับเจ้าหน้าที่ได้ทันที ซึ่งในกรณีแบบนี้ เจ้าหน้าที่ประกันภัยจะออกเอกสารค่าใช้จ่ายสำหรับการซ่อมรถเพื่อให้ผู้ที่ทำประกันนั้นสามารถนำรถไปซ่อมยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถที่ได้ตกลงตามเงื่อนไขของประกันภัย หรือออกเอกสารสำหรับค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุนั้นๆ
การเคลมประกันแบบแห้ง
การเคลมประกันลักษณะนี้ คือการเคลมประกันในรูปแบบที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ซึ่งมักจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ และมักจะไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนประตูรั้วบ้าน หรือขับรถขูดกับขอบถนน อาจทำให้ตัวถังของรถเกิดการบุบหรือเกิดรอยถลอก รอยขีดข่วน ของสีบนตัวถังรถ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ผู้ทำประกันจะสามารถนำรถเข้าไปซ่อมยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถที่ได้ตกลงตามเงื่อนไขของประกันภัยได้ก่อนที่กรมธรรม์จะหมดอายุ ซึ่งการเคลมประกันรูปแบบนี้ ผู้ทำประกันมักจะเลือกสถานที่ให้บริการซ่อมรถเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการเดินทาง โดยที่ผู้ทำประกันจะต้องมีเอกสารด้านกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ สำเนาใบขับขี่ และสำเนาทะเบียนรถ ไปด้วย เพื่อใช้แสดงเป็นหลักฐานแก่ศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถนั้นๆ
อย่างที่กล่าวมาว่าการเคลมประกันจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ทำประกันเข้าใจและรู้ถึงขั้นตอนที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพื่อให้ผู้ทำประกันได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำประกันภัยรถยนต์
สนใจข้อมูลประกันภัยรถยนต์ได้ที่นี่
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ มีข้อดีอย่างไร
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ มีข้อดีอย่างไร
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.บ. เป็นประกันภัยรถยนต์ที่รถทุกคันต้องทำ เพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และเพื่อเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาจากผู้ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถ ตัวอย่างข้อดีของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคือ
เป็นประกันภัยที่รถทุกคันต้องมี
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. นั้น เป็นประกันภัยตามกฏหมายที่รถทุกคันต้องมีไว้ เพื่อช่วยในการคุ้มครองผู้ขับขี่รถยนต์เมื่อประสบอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ประสบเหตุจะได้รับการคุ้มครองที่เท่าเทียมและเสมอภาคกัน
ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน
เพราะระบบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเป็นประกันภัยที่ใช้ระบบเดียวกันทั่วประเทศ ทำให้มีขั้นตอนที่แน่นอน จึงเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าผู้ประสบเหตุจากรถจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
เอกสารเป็นแบบเดียวกันทั้งประเทศ
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเป็นกฏหมายที่บังคับใช้ทั่วประเทศ และใช้ระบบเดียวกัน ทำให้แบบฟอร์มของเอกสารเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆของเจ้าหน้าที่เป็นระบบที่มีมาตรฐานและมีความสะดวกสบายมากขึ้น
ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆสะดวกมากขึ้น
เนื่องด้วยแบบฟอร์มและระบบการทำงานที่เป็นแบบแผนเดียวกันทั้งประเทศนั้น ทำให้ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารและการจ่ายเงินของเจ้าหน้าที่เป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการยื่นคำร้องขอรับเงินค่าเสียหายที่ใช้แบบฟอร์มเดียวกันทำให้มีความสะดวกมากขึ้น
มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเท่ากันทุกคน
ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าเสียหายเท่าเทียมกัน ไม่ว่าผู้ประสบอุบัติเหตุนั้นจะเป็นฝ่ายที่ถูกหรือฝ่ายที่ผิด หรือจะเป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีก็ตาม
ลดปัญหาการรอผลพิสูจน์ทางกฏหมาย
เนื่องจากระบบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้มีกองทุนสำรองในการจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหาย และเงินชดเชยค่าเสียหายนี้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับอย่างเท่าเทียบกัน ดังนั้นการยื่นคำร้องและรับค่าเสียหายจึงไม่ต้องรอผลพิสูจน์ทางกฏหมายซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดและใช้เวลาที่นาน
ปรับเพิ่มค่าเสียหายได้
ต้นทุนการจัดการระบบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั้นลดลงเนื่องจากระบบมีความเป็นเอกภาพมาขึ้น ทำให้การจัดการมีความง่ายขึ้น รัฐจึงสามารถที่จะปรับเพิ่มเงินค่าชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถได้
ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อดีของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งเป็นรูปแบบการประกันภัยรถยนต์ที่ช่วยคุ้มครองผู้ที่มีรถยนต์ เช่น ผู้ที่มีรถยนต์ส่วนบุคคล, รถจักรยานยนต์, รถยนต์โดยสาร, รถรับจ้าง, หรือรถบรรทุก เป็นต้น ทำให้ทุกคนที่เป็นเจ้าของรถมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและสามารถร้องขอเงินชดเชยค่าเสียหายได้อย่างเท่าเทียมกันทุกฝ่าย
สนใจข้อมูลประกันภัยรถยนต์ได้ที่นี่
ข้อแตกต่างระหว่างประกันภัยรถยนต์แบบซ่อมศูนย์และซ่อมอู่
อย่างที่ทุกคนทราบกันแล้วว่า การทำประกันภัยรถยนต์จะสามารถเลือกสถานที่ซ่อมรถยนตร์เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ 2 ประเภท คือ ประกันภัยรถยนต์แบบเลือกซ่อมที่ศูนย์บริการ และประกันภัยรถยนต์แบบเลือกซ่อมที่อู่ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทก็มีข้อดีและเสียที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ความต้องการของผู้ทำประกัน ซึ่งข้อแตกต่างใหญ่ๆที่สามารถเห็นได้ของสถานที่ซ่อมรถยนต์ทั้ง 2 ประเภทนี้ คือ
การรับประกันอะไหล่แท้
เมื่อต้องซ่อมแซมรถ ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ต่างก็ต้องการให้ผู้บริการนำอะไหล่ที่เป็นของแท้มาเปลี่ยนหรือมาซ่อมแซมให้ ซึ่งถ้าผู้ทำประกันภัยรถยนต์เลือกรับบริการซ่อมรถที่ศูนย์บริการ จะสามารถมั่นใจได้เลยว่าอะไหล่ที่เจ้าหน้าที่นำมาใช้นั้นเป็นอะไหล่แท้ที่ได้มาตรฐานจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์โดยตรง แต่การรับบริการซ่อมรถจากอู่ซ่อมรถทั่วไปอาจจะไม่สามารถรับประกันได้ว่าอะไหล่ที่ใช้นั้นเป็นของแท้ เนื่องจากอู่บางแห่งไม่ได้ติดต่อซื้ออะไหล่จากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง
ราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์
การเลือกการประกันภัยแบบซ่อมที่ศูนย์ให้บริการย่อมเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการซ่อมที่อู่ซ่อมรถ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทั้งด้านอะไหล่ ค่าแรงงานของเจ้าหน้าที่ หรือค่าภาษี มีราคาสูงกว่า ทำให้ค่าเบี้ยประกันของการเลือกการประกันภัยแบบซ่อมที่ศูนย์จึงมีราคาที่สูงกว่าแบบซ่อมอู่ตามไปด้วย
ความสะดวกสบาย ใกล้บ้าน
ศูนย์ให้บริการส่วนใหญ่จะมีสาขาตั้งอยู่ตามแหล่งชุมชนหรือตามเมืองใหญ่ๆ ดังนั้นการที่จะเลือกสถานที่ที่จะรับบริการซ่อมแซมรถ จึงควรเลือกดูจากสถานที่ที่อยู่ใกล้บ้าน ถ้าหากบริเวณรอบๆนั้นไม่ได้เป็นแหล่งชุมชนหรือเมืองใหญ่ก็อาจจะไม่มีศูนย์บริการซ่อมรถอยู่ใกล้ๆ ซึ่งถ้าหากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์และต้องนำรถไปซ่อมตามสถานที่ที่ระบุในประกันภัยรถยนต์ อาจทำให้การเดินทางเกิดความไม่สะดวกได้
ค่าบริการที่แตกต่างกัน
อย่างที่ทราบกันแล้วว่าค่าบริการของการซ่อมรถยนต์ที่ศูนย์บริการจะมีราคาที่สูงกว่าการซ่อมที่อู่ซ่อมรถ เมื่อเกิดกรณีที่ผู้ทำประกันต้องจ่ายส่วนต่างจากการรับบริการ ซึ่งอาจมาจากการไม่คุ้มครองของการประกันภัยบางประเภท ผู้ทำประกันแบบการซ่อมศูนย์ก็อาจต้องจ่ายค่าส่วนต่างนี้ในราคาที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการซ่อมอู่
มาตรฐานที่แตกต่างกัน
สถานที่ที่ให้บริการซ่อมรถ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ซ่อมรถหรืออู่ซ่อม ก็มีมาตรฐานการซ่อมและการให้บริการในแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เกิดจากความสามารถและความชำนาญของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ, ระยะทางจากตัวเมืองใหญ่ หรือระบบการทำงานในแต่ละแห่ง
ก่อนการเลือกสถานที่ที่จะรับบริการซ่อมแซมรถยนต์ตามเงื่อนไขของประกันภัยรถยนต์ ทางผู้ทำประกันจึงควรหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ พิจารณาจากสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย และปัจจัยอื่นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์นั้นๆ
สนใจข้อมูลประกันภัยรถยนต์ได้ที่นี่